Page 14 - เรื่อง วัสดุวัฒนธรรม ปูนโบราณ จิตรกรรมฝาผนัง และอาณาจักรทวารวดี
P. 14
10
2. จิตรกรรมฝาผนัง
2.1 ประเภทของจิตรกรรมฝาผนัง
โดยทั่วไปจิตรกรรมฝาผนังมี 2 ประเภท คือ
1. จิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณี (Traditional mural paintings) เป็นรูปภาพที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ
พระพุทธศาสนา ทศชาดก เทพและสิ่งศักดิ์สิทธ์ รามเกียรติ์ เทพนิกรและสัตว์ต่าง ๆ
2. จิตรกรรมร่วมสมัย (Contemporary) เป็นรูปภาพบนฝาผนังที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวร่วมสมัย ความ
เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม รูปแบบมีความอิสระ
เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และรสนิยมของศิลปิน
จิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้มักเขียนในพระอุโบสถ และวิหาร จิตรกรรมเหล่านี้เป็นเหมือนเครื่องสักการะต่อ
องค์พระพุทธเจ้า และยังเป็นเครื่องเตือนใจเกี่ยวกับความผิด-ชอบ ชั่ว-ดี ตามหลักของพระพุทธศาสนาอีกด้วย
ิ
จิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนต้น (หรือช่วง พ.ศ. 1762-1840) โดยได้รับอทธิพล
จากอินเดียและเขมร และประมาณช่วงอยุธยาตอนต้น จิตรกรรมฝาผนังของไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ ์
และแตกต่างจากจิตรกรรมของอินเดียและเขมร ลักษณะของจิตรกรรมในสมัยอยุธยา (ช่วงปี พ.ศ. 1893-
2310) จะได้จากรูปภาพในหนังสือ สีที่ใช้มักเป็น ขาว-ด า หรือ ขาว-ด า ผสมกับ เหลืองและดินแดง ลักษณะ
รูปภาพไม่มีสีสันมากนัก ในช่วงปลายอยุธยา (หลังจากปี ค.ศ. 2173) ลักษณะจิตรกรรมฝาผนังของไทยจะมี
ี
การใช้สีหลายสีผสมกัน (Polychromatic art) และมการใช้สีแดงชาด (vermillion) เป็นสีพื้น และทารูปทรง
ต่างๆด้วยสีเหลืองอ่อน และเริ่มต้นใช้ทองในจิตกรรมฝาผนัง ลักษณะจิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาถูก
ถ่ายทอดสู่ช่วงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-ปัจจุบัน) จิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณีเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก
ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมร่วมสมัยแบบตะวันตก ท าให้เกิดจิตรกรรมร่วมสมัยที่มีลักษณะผสมผสานระหว่าง
ตะวันออกและตะวันตก (Schwartzbaum, Na Songkhla, & Massari, 1986)
ี่
ส าหรับเทคนิคทใช้ในงานจิตรกรรมแบบประเพณีของไทยนั้นไม่มีการจดบันทึกอย่างเป็นระบบ ต้องสืบค้น
จากตัวชิ้นงานจิตรกรรมซึ่งเกิดการเสื่อมสภาพโดยเฉพาะส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ แต่ช่างศิลปกรรมไทยเชื่อว่า
การเขียนจิตรกรรมไทยนั้นใช้เทคนิค “tempera” ซึ่งเป็นการเขียนสีบนปูนแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรม
ฝาผนังบนพื้นปูนนั้น ปูนที่ใช้ได้จากการหมักปูนขาว (CaO) ในน้ าจนได้ปูนหมัก น าปูนหมักมาผสมกับทราย
เยื่อกระดาษ และกาวหนังสัตว์ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อปูนและการเกาะยึดกับพื้นผิวของอิฐ แล้วน าปูน
ั
ื้
หมักที่ผสมกบองค์ประกอบต่างๆ เรียบร้อยแล้วมาฉาบบนแผ่นอิฐ ทิ้งไว้เพื่อให้พนผิวคลายความเป็นเบส
เนื่องจาก Ca(OH) ในปูนหมักเกิดปฏิกิริยากับ CO ในอากาศ แล้วกลายเป็น CaCO ตรวจสอบความเป็น
2
3
2
กรด-เบสของพื้นผิวด้วยกระดาษขมิ้น ถ้ากระดาษขมิ้นไม่เปลี่ยนเป็นสีส้ม จะถือว่าพื้นผิวปูนกลายเป็น CaCO
3
อย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่างฝีมือจะเร่งให้ผิวปูนคลายความเป็นเบสโดยใช้น้ าใบขี้เหล็ก (Cassia siamea
Leguminosae) ซึ่งในน้ าใบขี้เหล็กนี้จะมีสารประกอบพวก polyphenol และ p-coumaric acid ที่ช่วยปรับ
สภาพพื้นผิวปูนให้คลายความเป็นเบสรวดเร็วขึ้น พื้นผิวที่เป็นเบสของปูนจะเกิดปฏิกิริยากับสีที่มีทองแดงเป็น
องค์ประกอบ (Schwartz-baum, Na Songkhla, & Massari, 1986) หลังจากนั้นต้องมีการเตรียมชั้นรองพื้น