Page 28 - วิทยาศาสตร์กับงานอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย
P. 28

24


               4.  ลายรดน้ า

                                                ้
                    ลายรดน้ า  หมายถึง  ลายทองที่ลางด้วยน้ า  โดยเขียนลวดลายหรือรูปภาพให้ปรากฏเป็นลายทองด้วยวิธี

               ปิดทองแล้วเอาน้ ารด        จัดเป็นงานประณีตศลป์ที่มีความสาคัญมากส าหรับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้และ
                                                           ิ
               เครื่องประดับของคนทั่วไป  เครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา  ตลอดไปจนถึงของใช้ของพระมหากษัตริย์  โดยใช้
               ตกแต่งตั้งแต่สิ่งของที่มีขนาดเล็กขึ้นไปจนถึงการใช้ตกแต่งผนังห้องขนาดใหญ่  ลักษณะพิเศษของลายรดน้ าคือ
                                                            ้
               มีวิธีในการเขียนแตกต่างไปจากงานจิตรกรรมทั่วไปที่ใชสีหลายสี หรือแม้แต่งานจิตรกรรมประเภทเอกรงค์เองก็
               ตาม  เนื่องจากการเขียนลายรดน้ าใช้น้ ายาหรดาลเขียนบนพื้นซึ่งทาด้วยยางที่ได้จากต้นรัก  เมื่อเขียนเสร็จแล้ว

               จึงเช็ดรัก ปิดทองแล้วเอาน้ ารด หรดาลที่ใช้เขียนเมื่อถูกน้ าก็จะหลุดออก ส่วนที่เป็นลวดลายทองก็จะติดอยู่ท า
                                                        ็
               ให้ลวดลายหรือรูปภาพที่ปรากฏหลังการรดน้ า เปนสีทองเพียงสีเดียวบนพื้นสีด าหรือสีแดง กรรมวิธีดังกล่าวมา
               นี้เป็นแบบอย่างการท าสืบต่อกันมาแต่โบราณ

               ยางรัก (Sap) มีองค์ประกอบหลักแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นรัก โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท

                    1. อูรูชิออล (Urushiol) เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งพบในยางรักของจีน ญี่ปุ่น เกาหลี
                    2. แลกคอล (Laccol) เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งพบในรักเวียดนาม ไต้หวัน

                    3. ทิตซิออล (Thitsiol) เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งพบในรักใหญ่ของไทยและพม่า

                    ลักษณะของยางรักเมื่อกรีดออกมาจากล าต้น  ในช่วงแรกมีลักษณะเป็นสีเหลืองข้นคล้ายนม  แล้วค่อยๆ
               เปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลและเข้มขึ้นเรื่อยๆจนเป็นสีดา  การที่ยางรักแห้งเกิดเป็นฟิล์มแข็งนั้นต้องอาศัยกระบวนการ

               พอลิเมอไรเซชัน โดยมีเอนไซม์ laccase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

                    ยางรักของไทยจะมีปริมาณพอลิเมอร์  (Polymer  content)  และความหนืดมากกว่ายางรักจากจนและ
                                                                                                     ี
               เวียดนาม แต่ใช้เวลาในการแห้งและกลายเป็นฟิล์มที่นานกว่า และยางรักแต่ละชนิดจะมีอุณภูมิและความชื้นท ี่
               เหมาะสมต่อการทางานของเอนไซม์ต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่ต้นรักเจริญเติบโตมา  โดยอุณหภูมิที่มีความ

               เหมาะสมของยางรักที่ได้จากต้นรักใหญ่จะอยู่ที่  40  องศาเซลเซียส  และความชื้นสัมพัทธ์  (Relative
               humidity) ที่ 90%


               4.1  การเสื่อมสภาพของยางรัก

                                                            ่
                    โดยทั่วไปแล้วยางรักที่เพิ่งแห้งใหม่ๆ  จะทนทานตอกรด,  ด่าง,  ตัวท าละลายอินทรีย์  และน้ า  รวมถึงจะ
                                                                                               ี่
               ทนทานต่อผลกระทบจากแมลงตางๆ  แต่หากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต  หรืออยู่ภายใต้อุณหภูมิทสูงเกินไปเป็น
                                          ่
                                                            ี
               ระยะเวลานาน จะท าให้ยางรักเสื่อมสภาพ และทาให้สเปลี่ยนแปลง แม้ว่าพื้นผิวยางรักที่ท าเพิ่งแหงใหม่ๆจะไม่
                                                                                                ้

                                                                                                ี
               ละลายน้ า  แต่พื้นผิวที่เสื่อมสภาพแล้วนั้นสามารถละลายน้ าได้  การท าความสะอาดโดยไม่สูญเสยพื้นผิวของ
               ชิ้นงานดั้งเดิมนั้นท าได้ยากมาก  ความสามารถในการละลายของยางรักแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของยางรัก
               วิธีการใช้งาน  อายุ  และการสัมผัสกับแสง  ลักษณะการเสื่อมสภาพของยางรักมีตั้งแต่  พื้นผิวลอกเป็นแผ่น
               พื้นผิวแตกและเสียหายจากรังสีอัลตราไวโอเลต  ไปจนถึงความเสื่อมสภาพของชั้นรองรับ  ดังตัวอย่างความ
               เสื่อมสภาพของยางรักในลายรดน้ าของต าหนักทอง  วัดไทร  (ภาพที่  24)  และตู้พระธรรมวัดราชาธิวาสวิหาร
               (ภาพที่ 25)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33