Page 8 - เรื่อง วัสดุวัฒนธรรม ปูนโบราณ จิตรกรรมฝาผนัง และอาณาจักรทวารวดี
P. 8

4


















                ภาพที่ 2  การหลุดร่อนของชั้นสีและการโป่งพองของปูนฉาบจิตรกรรมฝาผนังวัดภุมรินทร์ราชปักษ กรุงเทพ ฯ
                                                                                                ี


               1.1  งานวิจัยของไทยที่เกี่ยวข้องกบปูนโบราณ
                                           ั
                    มีการน าปูนขาวเปลือกหอย    ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการเตรียมปูนเลียนแบบปูนโบราณมาวิเคราะห์ด้วย
               เทคนิคทางวิทยาศาสตร์  พบว่าปูนขาวจากเปลือกหอยมีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกับปูนขาวจากหินแต่มี

               ขนาดและรูปร่างผลึกแตกต่างกัน  (สุขกมล  วงศ์สวรรค์,  2545)  นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์องค์ประกอบทาง

               เคมีของปูนโบราณจากภาคต่างๆ ของไทย พบว่ามีปูนขาว ทรายและเส้นใยในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน แต่ไม่พบ
               กาว ทั้งนี้สันนิษฐานว่ากาวซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์เกิดการสลายตัวผ่านกาลเวลาอันยาวนาน (นพวัฒน์ สม

               พน, 2540) มีการรวบรวมสูตรปูนโบราณของไทย ได้สูตรปูนก่อและปูนฉาบ 9 สูตร ปูนปั้น 48 สูตร และมีการ
                 ื้
               ทดสอบสมบัติพื้นฐานและสมบัติเชิงกลของสูตรปูนเลียนแบบปูนโบราณทั้งหมด 3 สูตร พบว่าปูนเลียนแบบปูน

               โบราณมีระยะการก่อตัวช้ากว่า  มีอัตราการดูดซึมน้ าและหดตัวสูงกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์  รวมทั้งรับแรงอัด

               และแรงดึงได้น้อยกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์  แต่เมื่อทิ้งไว้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น  ปูนโบราณจะมีความ
               คงทนแข็งแรง  มีความพรุนตัว  ระบายน้ าและความชื้นได้ดีกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์  (ดวงฤดี  ศุภติมัสโร,

               2557)

               1.2  การใช้ปูนโบราณในการซ่อมแซมโบราณสถานของไทย

                    มีหลักฐานการน าปูนซีเมนต์มาใช้ในการอนุรักษฟื้นฟูโบราณสถานในพระนครศรีอยุธยาโดยกรมศิลปากร
                                                          ์
               ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2478  ในระยะต่อมาพบความเสียหายอันเนื่องมาจากการใชปูนซีเมนต  ท าใหในปจจุบันกรม

               ศิลปากรไดก าหนดใหใชปูนขาวหมักแบบโบราณและปูนขาวผสมปูนซีเมนตขาว  (ในปูนสอ)  ส าหรับการบูรณะ

               โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  (FAD,  2012a)  มีการน าปูนขาวหมักผสมกับทราย  เคซีน
               แอมโมเนียมคาร์บอเนต และสีฝุ่น ในการซ่อมแซมประติมากรรมปูนปั้นวัดจุฬามณ จ. พิษณุโลก และยังมีการ
                                                                                   ี
               น าปูนขาวผสมกับพอลิไวนิลแอลกอฮอล์มาซ่อมแซมปูนปั้นในส่วนที่เป็นโพรงอีกด้วย (ตระกูล ร้อยแก้ว, 2545)

               1.3  ชนิดและองค์ประกอบของปูนโบราณ

                    ปูนหมัก (Lime  Putty) เป็นวัสดุที่มีบทบาทส าคัญในสถาปัตยกรรมไทยโบราณ ใช้ในการก่อสร้าง

               โบราณสถานต่างๆ โดยน าปูนหมักไปผสมกับทราย ใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสาน เรียกว่า ปูนสอ (Mortar) และ
               เมื่อน าปูนหมักไปผสมกับทรายและเส้นใย เป็นวัสดุฉาบผิวเรียกว่า ปูนฉาบ (Plaster) นอกจากนี้ยังมีการน าปูน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13