Page 5 - เรื่อง วัสดุวัฒนธรรม ปูนโบราณ จิตรกรรมฝาผนัง และอาณาจักรทวารวดี
P. 5
1
วัสดุวัฒนธรรม : ปูนโบราณ จิตรกรรมฝาผนัง และอาณาจักรทวารวดี
โบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ ในประเทศไทย ถูกสร้างจากปูนหมักที่น าไปผสมกับทราย กาว และ
ตัวประสานอื่นๆ โดยมีสัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆ แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การน าไปใช้ เช่น
ปูนสอ ปูนฉาบ ปูนต า และปูนปั้น เมื่อกาลเวลาผ่านไป โบราณสถานและโบราณวัตถุเหล่านี้เกิดการ
เสื่อมสภาพ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นปูนโบราณ ซึ่งในกระบวนการอนุรักษ์ซ่อมแซมนั้นเราต้องน าปูนหมักมาผสม
กับองค์ประกอบต่างๆ เลียนแบบเทคนิคโบราณ ซึ่งก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของเทคนิคโบราณในการท า
์
ปูนหมักและการผสมปูนหมัก จะขอกล่าวถึงหลักการทั่วไปในการอนุรักษงานศิลปกรรม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2
ประเภท คือการอนุรักษ์เชิงป้องกัน และการอนุรักษ์เชิงสงวนรักษา
้
ื่
การอนุรักษ์เชิงปองกัน เป็นการด าเนินงานเพอป้องกันความเสียหายกับชิ้นงานจากสภาพแวดล้อม การ
จัดการลดความเสี่ยงที่ส่งผลต่อศิลปวัตถุ เช่น ควรเก็บรักษาในห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้อุณหภูมิอยู่
ระหว่าง 22 – 24°C และมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 50 - 65 % โดยทั้งอุณหภูมิและความชื้นต้องคงที่ตลอด
24 ชั่วโมง หากไม่สามารถเกบชิ้นงานในห้องทติดตั้งเครื่องปรับอากาศได้ ควรท าให้ห้องจัดเก็บมีการหมุนเวียน
็
ี่
ของอากาศ (สมถวิล นิลวิไล และ ศิริชัย หวังเจริญตระกูล, 2552) การปฏิบัติงานอนุรักษ์ด้านการป้องกัน ต้อง
มีการบันทึกและติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ เช่น สภาพห้องจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ การจัดแสดง แสง
อุณหภูมิ ความชื้น สภาพแวดล้อมทั้งภายในห้องและโดยรอบอาคาร เป็นต้น เพื่อที่จะควบคุมสภาพแวดล้อม
ให้เหมาะสม นอกจากนี้ต้องมีความเข้าใจวัสดุที่ใช้ในการปกป้องชิ้นงาน เช่น กระดาษ ไม้ และพลาสติก เป็น
ต้น เนื่องจากวัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่ต้องสัมผัสกับวัตถุทั้งทางตรงและทางอ้อมในกระบวนการจัดเก็บ การจัด
แสดง และการเคลื่อนย้าย
การอนุรักษ์เชิงสงวนรักษา เป็นการด าเนินงานอนุรักษ์หลังจากที่เลือกวิธีการรักษา การใช้วัสดุ
้
อุปกรณ์ และสารเคมี เป็นต้น โดยผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ ตามขอเสนอแนะ หลักการและเหตุผล ซึ่ง
ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติงานของนักอนุรักษ์ (Kushel, 1994) จึงสามารถเริ่มด าเนินการ
ปฏิบัติงานตามขั้นตอนได้ งานอนุรักษ์วัตถุโบราณเชิงสงวนรักษามีความคล้ายคลึงกับงานรักษาผู้ป่วยของ
แพทย์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ค้นคว้าประวัติความเป็นมาของชิ้นงาน เช่น ผู้สร้าง เจ้าของ หน้าที่ของชิ้นงาน และแหล่งที่มา เป็น
ต้น (คล้ายคลึงกับการซักประวัติผู้ป่วยเบื้องต้น)
2. ประเมินสภาพและเก็บข้อมูลเบื้องต้นของชิ้นงาน เช่น ขนาด ชนิดของวัสดุ ลักษณะสีสัน การจัดเก็บ
์
รายละเอียดการเสื่อมสภาพ และเลขทะเบียน (ในกรณีที่มาจากพิพิธภัณฑ) เป็นต้น (คล้ายคลึงกับการตรวจ
วินิจฉัยโรคเบื้องต้นด้วยเครื่องมือพื้นฐาน เช่น หูฟังของแพทย์ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดความดัน เป็นต้น)
3. ศึกษารายละเอียดของเนื้อวัสดุโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การวัดความเป็นกรด-เบสโดยใช้
กระดาษ pH การศึกษาระดับการเสื่อมสภาพของวัตถุด้วยเทคนิคทางสเปคโตรสโคปีต่างๆ ศึกษาลักษณะของ
เนื้อของวัตถุด้วยเทคนิค Scanning Electron Microscopy และศึกษาชนิดของธาตุองค์ประกอบด้วยเทคนิค
Energy Dispersive X-ray หรือ X-ray Fluorescence (คล้ายคลึงกับการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องมือ