Page 18 - วิทยาศาสตร์กับงานอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย
P. 18
14
2.3 ส่วนของช่องกระจก
ลวดลายช่องกระจกเป็นลายกระถางต้นไม้ เป็นลายที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น มีลายหลักคือ
ี
กระถางต้นไม้และลายประกอบ เป็นลายตัวผเสื้อ ลายกอไม้ และการปักหักแล่งทองขวาง แทรกอยู่ใน
ช่องว่างของกระถางต้นไม้ที่เรียงกัน การปักแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
2.3.1 ลายกระถางดอกไม้ มีความหลากหลายของวิธีการปัก โดยจะขออธิบายแยกส่วนดังต่อไปนี้
้
- ลายดอกและผลของต้นไม ส่วนของดอกจะมี 2 ลักษณะ คือดอกประธานที่อยู่บริเวณยอดสุดและ
ดอกรองด้านข้างทั้งสองฝั่งลักษณะการปักเป็นการหนุนด้วยเชือกกิมเจ็งเส้นใหญ่ เรียงเลื่อมซ้อนกัน
่
เป็นวงเป็นชั้นๆ เลื่อมแตละแผ่นจะสอดขาด้วยดิ้นมันตัดเป็นท่อนสั้นๆ เรียงแบบนี้จนเต็มวง โดยขนาด
ของเลื่อมแต่ละวง จะมีขนาดลดหลั่นกัน ตัวดอกประธานจะไม่มีการปิดจุดกลางดอก คือจบดอกด้วย
การปักเกสรดิ้นมันอย่างเดียว ส่วนดอกรองด้านข้างจะปิดกลางดอกด้วยเลื่อมปุ่มปูด ในส่วนของผลซึ่ง
อยู่ถัดลงมาจากดอกรองนั้น จะปักเลื่อมเรียงซ้อนเป็นวงกลม ไล่จากข้างในจุดกลางออกมาด้านนอก
เดินเลื่อมจนเต็มวงผลแล้วปักตีเกลียวดิ้นมันทับกลางวงเลื่อมทั้งสองชั้น
้
- ลายใบไม การปักลายใบไม้มีอยู่ด้วยกันสองลักษณะ คือใบที่ปักด้วยเลื่อมไลขนาดเรียงเป็นฝัก อยู่
่
ส่วนยอดของต้น ปักตีเกลียวทับกลางใบ และใบแบบแฉก ปักใบด้วยดิ้นมันสอดหนุนเตมรูปใบ วาง
็
เลื่อมปิดส่วนเส้นกลางใบและปักตีเกลียวด้วยดิ้นมันทับกลางเลื่อมอีกชั้นหนึ่ง